2758683 สถิติสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล 2 (Statistics for Data Analysis 2)

ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา

ผู้สอน
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชาดา บวรกิติวงศ์
วัน
11 ตุลาคม - 29 พฤศจิกายน 2563     เฉพาะวันอาทิตย์  
เวลา
10:00 - 12:00 น.
13:00 - 15:00 น.
วัตถุประสงค์
    1. อธิบายหลักการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพหุตัวแปรได้
    2. วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพหุตัวแปรได้
    3. ประยุกต์ใช้การวิเคราะห์พหุตัวแปรในการวางแผน การวิเคราะห์และการสรุปผลในงานวิจัยได้
    4. มีจรรยาบรรณในการวิเคราะห์และการสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล
สัปดาห์ที่ วันที่ เนื้อหา
1 11 ต.ค. 63 หลักการและการประยุกต์ใช้สถิติวิเคราะห์สำหรับตัวแปรตามหลายตัว การเปรียบเทียบความเหมือนและความต่างของสถิติวิเคราะห์สำหรับตัวแปรตามตัวเดียวกับตัวแปรตามหลายตัว
2 18 ต.ค. 63 การวิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบเซนทรอยด์ การวิเคราะห์ความแปรปรวนหลายตัวแปร
3 25 ต.ค. 63 การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมหลายตัวแปร
4 1 พ.ย. 63 การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุหลายตัวแปร
5 8 พ.ย. 63 การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก
6 15 พ.ย. 63 การวิเคราะห์จำแนกกลุ่ม
7 22 พ.ย. 63 การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แคนอนิคอล การวิเคราะห์กลุ่ม
8 29 พ.ย. 63 การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ
เกณฑ์การประเมินผล
     85% ขึ้นไป ได้เกรด A
     80-84% ได้เกรด B+
     75-79% ได้เกรด B
     ต่ำกว่า 75% ได้เกรด C

หนังสืออ่านประกอบ

Carl, J.H. (1994). Applied Discriminant Analysis. New York: John Wiley & Sons.

สุชาดา บวรกิติวงศ์. (2558). สถิติพหุตัวแปร. เอกสารอัดสำเนา.

หนังสืออื่นๆ เช่น กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์ข้อมูลหลายตัวแปร หรือ multivariate analysis เป็นต้น


หนังสืออ่านทบทวนก่อนเรียน

Kirk, R.E. (1995). Experimental Design: Procedures for Behavioral Sciences. Pacific Grove, California: Brooks/ Cole.

Pedhazur, E.J. (1982). Multiple Regression in Behavioral Research. New York: Holt, Rinehart and Winston.

สุชาดา บวรกิติวงศ์. (2548). สถิติประยุกต์ทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย