2758682 สถิติสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล 1 (Statistics for Data Analysis 1)

ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา

ผู้สอน
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชาดา บวรกิติวงศ์
วัน
16 สิงหาคม - 4 ตุลาคม 2563     เฉพาะวันอาทิตย์  
เวลา
10:00 - 12:00 น.
13:00 - 15:00 น
วัตถุประสงค์
    1. อธิบายมโนทัศน์ หลักการและการเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมกับข้อมูลและตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้
    2. สามารถนำองค์ความรู้ด้านสถิติไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การแปลความหมายและนำเสนอข้อมูล อย่างมีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพ
สัปดาห์ที่ วันที่ เนื้อหา
1 16 ส.ค. 63 หลักการและการประยุกต์ใช้สถิติ: มโนทัศน์และหลักการใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ประเภทของสถิติ ตัวแปร มาตรการวัด ข้อมูลและการเก็บรวบรวม เครื่องมือและคุณภาพเครื่องมือ การประยุกต์ใช้สถิติในการวิจัย
2 23 ส.ค. 63 สถิติบรรยาย (descriptive statistics): การนำเสนอข้อมูล ค่าประจำตำแหน่ง (percentile, quartile decile) คะแนนมาตรฐาน การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางและการกระจาย
3 30 ส.ค. 63 การใช้คอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ข้อมูล
4 6 ก.ย. 63 การแจกแจงความน่าจะเป็นแบบปกติ (normal probability distribution) การแจกแจงของตัวอย่างและความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน
5 13 ก.ย. 63 การทดสอบสมมติฐาน (hypothesis testing) และการประมาณค่าพารามีเตอร์ (parameter estimation) การวิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยสถิติทดสอบที
6 20 ก.ย. 63 การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบต่างๆ
7 27 ก.ย. 63 การวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการถดถอย
8 4 ต.ค. 63 การวิเคราะห์ด้วยสถิติไม่ใช้พารามีเตอร์
เกณฑ์การประเมินผล
     85% ขึ้นไป ได้เกรด A
     80-84% ได้เกรด B+
     75-79% ได้เกรด B
     ต่ำกว่า 75% ได้เกรด C

หนังสืออ่านประกอบ

สุชาดา บวรกิติวงศ์. (2548). สถิติประยุกต์ทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Howell, D.C. (2004). Fundamental Statistics for the Behavioral Sciences. California: Brooks/Cole.

Kerlinger, F.N. (1986). Foundations of Behavioral Research. New York: Holt, Rinehart and Winston.

Pedhazur, E.J. (1982). Multiple Regression in Behavioral Research. New York: Holt, Rinehart and Winston.